TradingMind

Trading Psychology Part 3.

จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 3

Trading Psychology Part 3.

การเก็งกำไรของคุณนั้นมันมีช่วงเวลาของมันอยู่ บางช่วงมันก็ดี บางช่วงมันก็แย่ ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจมันเท่าไหร่หรอกมันออกจะดูไม่มีเหตุผลเสียเลย แต่มันก็มักจะเป็นอย่างนั้น เมื่อไหร่ที่ถึงเวลาของคุณมันก็มักจะทำได้ดีมากๆ แต่เมื่อมันไม่ใช่เวลาของคุณ คุณก็มักจะขาดทุนติดๆกัน เมื่อถึงช่วงเวลาที่ดีของคุณต่อให้คุณทำผิดพลาดบ้างมันก็มักจะกลายเป็นดีเสมอ แต่เมื่อช่วงเวลาแย่ๆของคุณมาถึง มันไม่เกี่ยวเลยว่า ความคิดของคุณจะดีแค่ไหน เพราะยังไงซะ คุณก็ขาดทุนอยู่ดี เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของเกมนี้ครับ เมื่อช่วงเวลาแย่ๆของคุณมาถึงนั้น คุณต้องลดขนาดการลงทุนของคุณลงครับ เทรดให้น้อยลง เสี่ยงให้น้อยลง น้อยลงอีก น้อยลงอีก และน้อยลงอีก และน้อยลงอีก เสี่ยงให้น้อยลงอีก ให้น้อยลงที่สุด จนกว่าคุณจะเริ่มกลับมามีกำไรอีกครั้งครับ แล้วก็ไปเพิ่มความเสี่ยงขึ้นมา ค่อยๆเพิ่มขึ้นมาอีก เพิ่มขึ้นมาอีกครับ เพิ่มให้มากกว่าเดิม แล้วเพิ่มให้มากขึ้นอีก แต่ผมรู้ว่าพวกคุณส่วนใหญ่ไม่ทำกันหรอก เพราะเวลาช่วงแย่ๆมาถึงนั้นพวกคุณมักจะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก อย่าทำอย่างนั้นครับ แต่พวกคุณก็คงไม่ทำกันหรอกผมรู้ จงทำให้ระบบการลงทุนของคุณง่ายขึ้นซะ เพราะความซับซ้อนจะทำให้คุณสับสน มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ผมไม่เคยพบเจอกับนักดู Fibonanci และผมไม่เคยพบเจอกับพวกนับคลื่น elliott Wave ที่รวยมหาศาลในธุรกิจนี้ เพราะพวกเขา(พวกนับคลื่น)มักจะเป็นอย่างนี้ครับ นี่มันขึ้น A,B และ C ของเวฟ 3 ของเวฟ 4 ของเวฟ C ใหญ่ หรือมันเป็นซัฟเวฟของเวฟอะไรของมันฟะ…$@&%#!!W ไม่สิ เฮ้ยมันจะเป็นอย่างนั้นไปได้ยังไงฟะ งงวุ้ย และพวกเขามักจะสนับสนุนในสิ่งที่พวกเขาทำ จนเขาอาจไม่ทำอะไรสักอย่างเลยก็ได้ครับ แต่พวกสุดยอดนักเก็งกำไรที่ผมรู้จักนั้น เช่น Paul Tudor Jones หรือ Richard Dennis หรือ “ไอ้จรวด” อย่าง Rick Barnes ถ้ายังจำกันได้ ยังจำ Rick Barnes กันได้ไหมครับ ไม่มีใครที่เริ่มต้นด้วยเงินเล็กน้อยและทำให้มันเติบโตได้เร็วเท่าเขาอีกแล้ว สิ่งที่เหมือนๆกันของพวกเขาคือ พวกเขาจะใช้ระบบการลงทุนที่ง่ายมากๆจนเกินกว่าที่คุณจินตนาการได้ เช่นถ้า “จุดต่ำสุด” ของหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ และ “จุดสูงสุด” ก็สูงขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาก็อาจจะเข้าซื้อมันครับ พวกเขามักจะวิเคราะห์กราฟอย่างง่ายๆ บางทีอาจใช้แค่ไม้บรรทัด กล่องดินสอเข้มๆหน่อยหรือไม่ก็อาจเป็นปากกาเมจิกก็ได้ครับ แล้วพวกเขาก็เผื่อระยะให้ราคามีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวสักหน่อย และถ้ามันหลุดเส้นแนวโน้มใหญ่ๆ พวกเขาก็เพียงแค่หนีออกมาครับ ต้องทำให้มันง่ายอย่างนั้นซะ พวกนั้นไม่เคยพบเจอกับสุดยอดของเหล่านักเก็งกำไร หรือสุดยอดของนักลงทุน ที่ชอบความซับซ้อนแม้แต่คนเดียวครับ อ๋อจริงๆแล้วข้อดีของ elliott Wave ก็มีอยู่นะครับ เช่นราคามักจะวิ่งเป็นคลื่นขึ้นไป 1 2 3 4 5 และ 6 7 8 9 ซึ่งมันมักจะเริ่มทำให้พวกเขานับคลื่นสับสนกันแล้วสิ เพื่อจะเป็นคลื่นที่ 10 ก็ได้ แล้วเราจะทำยังไงล่ะ ก็ไม่รู้ ผมรอให้คลื่นที่ 11 เกิดขึ้นก่อนนะแล้วก็ แต่ถ้าลูกที่ 9 ตกลงมา ลูกที่ 11 อาจเป็นลูกที่ 1 หรือลูกที่ 12 ก็ได้มั้ง ผมเชื่อว่านี่จะทำให้พวก elliott Wave สติแตกกันได้บ้างละครับ แต่มันก็อาจเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ แนวคิดเดียวที่ผมอาจสังเกตเห้นได้ว่ามีประสิทธิภาพบ้าง นั่นก็คือ ตลาดมักจะพักตัวประมาณ 50% หรือ 62% จากระยะของจุดสูงสุด-ต่ำสุดของมันครับ ผมมักจะมองหาและเจอมันบ่อยๆครับ ดังนั้นเมื่อมองไปที่กราฟ ผมมักจะมองกรอบของราคา ซึ่งเรีกง่ายๆว่า “กล่องราคา” ซึ่งก็คือพื้นที่ที่กราฟราคาวิ่งขึ้นไปเป็น Parabolic และเริ่มปรับตัวลงมา ผมมองว่า “จุดต่ำสุด” เดิมอยู่ตรงไหน? และดูว่า “จุดสูงสุด” ของกราฟที่วิ่งขึ้นไปอยู่ตรงไหน? แล้วหาสัดส่วนร้อยละของระยะออกมาประมาณ 50% หรือ 62% แล้วคุณก็มักจะต้องแปลกใจ ที่เมื่อราคาตกลงมาตรงนั้น มันมักที่จะเหวี่ยงไปมาเล็กน้อยแถวๆนั้น มันอาจจะลงมาเกือบถึง หรือไม่ก็ลงไปต่ำกว่านั้นหน่อย แต่มันมักจะมักตกลงมาพักอยู่แถวนั้น แล้วถ้าตลาดเริ่มดีขึ้นมา มันก็มักจะวิ่งขึ้นไปทำ “จุดสูงสุด” ใหม่อีกครั้งครับ นี่คือแนวคิดที่ซับซ้อนที่สุด ที่พิศดารที่สุด ที่ผมจะเป็นอย่างั้นครับ ยังมีกฎอีกข้อหนึ่ง การย่อตัวของหุ้นในตลาดหมี(ตลาดขาลง)นั้น มันมักจะรุนแรงกว่าในตลาดกระทิง(ตลาดขาขึ้น)นั้นเอง ทำไมนั่นหรือ บอกตรงๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน มันเป็นอย่างนั้นจริงๆหรือ? ใช่ครับ จงระมัดระวังให้มากในตลาดหมี(ตลาดขาลง)ครับ ทำไมนะหรือ?? ก็มันตลาดขาลงไง ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะดูแย่ไปหมด มันจะมีแรงเทขายอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าเราจะตอบสนองต่อมันด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม แต่เวลาที่เราขาย Short หุ้นนั้น เรามักจะรีบร้อนที่จะซื้อหุ้นคืนเร็วกว่าเวลาที่เราเข้าซื้อธรรมดาๆ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ครับ จงจำไว้าว่า การย่อตัวของหุ้นในตลาดขาลงนั้น มักที่จะรุนแรงกว่าในตลาดขาขึ้นครับ ยังมีอีกกฎที่ต้องจำครับ มันเป็นกฎที่สำคัญมากๆ นั่นคือ “แมลงสาบ ไม่เคยมาตัวเดียว” นี่เป็นกฎที่คุณต้องจำไว้นะครับ “แมลงสาบ ไม่เคยมาตัวเดียว” เมื่อข่าวร้ายเริ่มออกมาข่าวหนึ่ง มันมักจะมีข่าวร้ายตามออกมาอีกเรื่อยๆ ง่ายๆอย่างนี้ละครับ เหมือนหุ้น Enron ไงครับ ผมชอบเรื่องของ Enron มากๆเลยนะ มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ ผมยังรำคาญคนที่บ่นในทุกๆครั้งว่าพวกเขาหมดตัวจาก Enron พวกเขารู้สึกเหมือนโดนโกงเงิน แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ แม้ว่าหุ้น Enron นั้นลงจาก 80 มาเหลือ 0 ดอลล่าร์ แต่จริงๆแล้ว มันค่อยๆลงมาทีละช่องๆเรื่อยๆ มันไม่เคยเปิด Gap กระโดดลงมาเลย มันไม่เคยออกข่าวประกาศ จนคุณหนีออกมาไม่ทัน จริงๆแล้วคือตัวคุณนั่นแหละที่ยังทนถือมาเรื่อยๆจนมันหมดค่า มันคือความผิดของคุณครับ แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีวันเข้าใจมันหรอก พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาโดนทำร้าย พวกเขาคิดว่ามันจะวิ่งกลับไป ไม่!!! มันวิ่งไปคนละทางกับคุณนะ ทำไมคุณไม่หนีออกมา เมื่อข่าวร้ายเริ่มเผยออกมาจาก Enron “แมลงสาบ ไม่เคยมาตัวเดียว” มันยังจะมีข่าวร้ายตามมาอีกเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น เหมือนกับการชลอตัวทางเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ คุณจะเห็นว่ามันมีแต่ข่าวร้ายออกมาเรื่อยๆ ยังจะมีแมลงสาบตัวใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ มันไม่เคยมาแค่ตัวเดียว มันมาเป็นฝูงๆ และมันจะตามออกมาอีกเรื่อยๆครับ

ขอบคุณเนื้อหาจาก Youtube กลยุทธ์การเล่นหุ้น ในช่วงเวลาที่ดีและเลวร้ายของคุณ

Subscribe to Me Life Success

Get the latest posts delivered right to your inbox