Trading Psychology Part 2.
จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2
ขอต้อนรับเข้าสู่วันที่ 2 ของการเรียนรู้ “จิตวิทยาการลงทุน” โดยผมได้นำเนื้อหามาจากหนังสือ “ Trading in The Zone” ครับ Marc ได้เขียนแนวทางฝึกหัดสำหรับการเก็งกำไรเอาไว้ ชื่อตอนว่า “Trading an Edge like Casino” หรือการเก็งกำไรอย่างมีแต้มต่อ สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ คุณอาจสงสัยว่า “แต้มต่อ” นั้นคืออะไร เบื่องต้นแล้วการเก็งกำไรที่มีความได้ปรียบนั้น คือการที่คุณมองเห็นโอกาสจากการที่ตลาดได้เผยออกมาในทุกๆวัน และนี่คือสิ่งที่เขาเรียกมันค่า “Edge” หรือการมองเห็นโอกาส ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการซื้อขายครั้งใหม่ๆ นั่นคือความหมายของคำว่า “Edge” ของ Marc Douglas ครับ โดยเขาได้เขียนถึงวิธีการฝึกฝนมันเอาไว้ โดยที่มันถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการฝึกฝนจิตใจของคุณ เพื่อเรียนรู้การตอบสนองที่ถูกต้องจากสิ่งที่ตลาดเผยออกมา และยิ่ งกว่านั้น คือการเรียนรู้ที่จะเป็น “นักเก็งกำไรที่มีวินัย อย่างสม่ำเสมอ” โดยสามารถตามกฎได้อย่างเคร่งครัดให้คุณคือระบบ และระบบกลายป็นตัวคุณ!
โดยเริ่มต้นจากการเลือกตลาดที่จะฝึกหรือเลือกหุ้นมาสักตัวหนึ่งครับ โดยควรเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องเป็นอย่างดีและควรมีความผันผวนสูงสักหน่อย และควรระวังการใช้มาร์จินของคุณให้ดี นี่คือแนวทางที่คุณจะฝึกด้วยเงินจริงๆ แต่ผมยังไม่ต้องการให้เริ่มด้วยเงินจริงๆครับ ผมอยากให้คุณลองฝึกบนกระดาษก่อนครับ มีเรื่องเล่าในตลาดหุ้นอยู่ว่า “มีคนอยู่มากมายที่เข้ามาในตลาดหุ้นแต่มีเพียงคนเดียวที่เป็นเศรษฐีได้” โดยการเข้าซื้อขายแต่หุ้น “IBM” ทุกๆวัน ส่วนตัวผมแล้วในอดีตที่ผ่านก็เคยซื้อขายแต่หุ้น “Goldman Sach” หรือ “Apple” อยู่บ้างเหมือนกันครับ แต่เมื่อโอกาสได้เกิดขึ้นครั้งใหม่ที่ไหน ผมก็ไปอยู่ที่นั่นครับ นั่นเป็นเรื่องของการรู้จักจังหวะในตลาดหุ้น ซึ่งเราจะพูดกันในภายหลังครับ เอาละหลังจากที่เราเลือกตลาดหรือตัวหุ้นที่เราจะฝึกฝนได้แว้ว เราก็จะเลือกแนวทางที่จะซื้อขายขายกับมัน โดยในเบื้องต้นแล้วคุณควรจะมีระบบการลงทุน ของคุณเองครับ มันอาจเป็นการวิเคาระห์พื้นฐานหรือการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็ได้ เพราะการฝึกนี้ไม่เกี่ยวกับว่าระบบหรือวิธีการของคุณจะเป็นอย่างไร มันยังไม่เกี่ยวกับว่าเมื่อคุณเห็นกราฟ แล้วคุณจะคิดอย่างไร และมันไม่เกี่ยวกับว่า คุณจะได้กำไรหรือไม่ แต่มันเกี่ยวกับที่ว่าคุณจะสามารถทำตามระบบของคุณได้ไหม? โดยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม… แต่คุณยังสามารทำตามระบบได้เหมือนเดิม! ไม่ว่าระบบของคุณจะเป็นอย่างไรนั้นมันควรจะมีองค์ประกอบดังนี้
- Trading System Requirements
- Trade Entry
- Stop Loss Exit
- Time Frame
- Trading in Simple Size
- Testing
- Accepting Risk
นั่นคือ มันสามารถบอกจุดเข้าซื้อให้คุณได้ มันทำให้คุณรู้ว่าตรงไหนที่ควร “ตัดขาดทุน” มี “คาบเวลา หรือ Timeframe” ที่แน่นอน มันบอกจุด “ขายทำกำไร” ให้คุณได้ โดยควรทดลองซื้อขายเป็นจำนวนหลายๆครั้งหรือเป็น “Simple Size” ครับ และมีวิธีวัดผลของระบบที่แน่นอน และมีการจัดการความเสี่ยงควบคู่กันไปด้วย โดยเมื่อเราพูดถึงการเข้าซื้อนั้น ตัวแปรที่ใช้บ่งชี้ถึง “โอกาส” ของคุณควรจะมีความชัดเจนและแน่นอนคุณควรจะมีกฏ หรือพูดได้อย่างแน่นอนว่า... “ทุกๆครั้งที่หุ้น Y หล่นมาชนกับเส้น MA20 วันในขณะที่ตลาดเป็นขาขึ้น” “ผมจะซื้อ” หรือ “ทุกๆครั้งที่ MACD ตัดขึ้น... ผมจะซื้อ” ผมขอบอกอีกครั้งว่า...นี่ไม่เกี่ยวกับว่าระบบของคุณดีแค่ไหน สิ่งสำคัญก็คือ คุณนั้นต้องมีกฎ ในการเข้าซื้อที่แน่นอน ที่จะบอกได้ว่า “นี่คือจุดที่ฉันจะเข้าซื้อหุ้น” หากตลาดเข้าทาง กับกฎการซื้อของคุณ นั่นจึงเป็นจุดซื้อของคุณ หากไม่.. คุณก็ไม่ควรซื้อครับ! คุณต้องซื้อหุ้นเฉพาะเมื่อตรงกับกฎหรือระบบของคุณเท่านั้น และห้ามเข้าซื้อ ถ้ามันไม่เกิดขึ้นครับ! ในทางกลับกันแล้ว “การตัดขาดทุน” ก็เหมือนกับการซื้อเช่นกัน ทุกคนควรจะมีกฎที่แน่นอนในการซื้อขายด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเมื่อมันหลุด MA20 วัน หรือหลุดเส้น MA50 วัน หรืออะไรก็ตาม คุณต้องมีกฎที่แน่นอนสำหรับการตัดขาดทุนเช่นเดียวกับการซื้อครับ เพราะนั่นจะเป็นอย่างมากมายต่อกำไรของคุณครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหุ้นนั้น ไม่วิ่งไปอย่างที่คุณคิดครับ ระบบของคุณยังต้องสามารถบอกคุณได้ว่าคุณควรจะยอมเสี่ยงแค่ไหน หากว่าทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คุณคิด พูดง่ายๆว่า หากคุณทำตามระบบของคุณ และคุณได้เริ่มเข้าซื้อตามระบบ คุณจะทำอย่างไร คุณจะรอนานแค่ไหนหรือคุณจะยอมเสี่ยงมากเท่าไหร่ ก่อนที่จะรู้ว่าระบบของคุณนั้นจะช่วยให้คุณได้กำไรในคราวนี้หรือไม่ เนื่องจากมันจะต้องมีจุดๆหนึ่งที่คุณจะไม่สามารถ ทำกำไรเพิ่มได้อีกแว้ว และควรที่จะขายออกมาดีกว่าหวังให้วิ่งกลับมาที่ครับ เรื่องของ “กรอบเวลา หรือ Time Frame” วิธีการของคุณ จะอยู่ในกรอบเวลาไหนก็ได้ เช่นผมมักจะใช้กราฟราย 5 นาที, 30 นาที หรือกราฟรายวันก็ได้ครับ อย่างไรก็ตาม กฎการเข้าซื้อและขายของคุณควรต้องใช้กรอบเวลา หรือ “Time Frame” เดียวกันครับ เช่นหากเราใช้กราฟราย 15 นาที ในการเข้าซื้อระหว่างวัน คุณก็ต้องใช้กราฟ 15 นาทีในการขายด้วย และจำไว้เสมอว่า “แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ” ในเบื้องต้น Marc ได้บอกกับเราไว้ว่า การเก็งกำไรที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดนั้น หรือมีความน่าจะเป็นที่จะได้กำไรที่สุดคือการซื้อเมื่อหุ้นพักตัว ในแนวโน้มขาขึ้นหรือการชอร์ทเมื่อหุ้นเด้งขึ้นมาในขณะที่มันยังอยู่ในขาลงครับ ดังนั้นจงจำไว้ว่า “แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ” และอย่าลืม สิ่งสำคัญกว่านั้นคือใช้กราฟใน Time Frame ที่คุณเข้าซื้อไปในการขายหุ้นของคุณเช่นกัน
เรื่องของการ “ขายทำกำไร” นั้นเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากบ่อยครั้งที่ผมมีกำไรนั้นผมทนไม่ไหวรีบขายออกมา ซึ่งทำให้ได้น้อย กำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อคุณเล่นถูกทางนั้น จำไว้ให้ดีว่า.. คุณไม่มีทางรู้ว่ามันจะไปอีกไกลแค่ไหน ซึ่งนี่อาจเป็นทักษะหนึ่งที่ยากที่สุดในการที่คุณจะฝึกฝนมันครับ หลังจากที่คุณฝึกฝนจนมีทัศนคติที่ถูกต้อง ในการที่จะขายทำกำไร และออกจากตลาดไป หรือการรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะปล่อยหุ้นนั้นเป็นทักษะที่ยากที่สุดในการเก็งกำไรครับ เนื่องจากตลาดแทบไม่เคยวิ่งขึ้นเป็นเส้นตรง มันจะขึ้นๆลงๆ หรือย่อตัวเสมอ การที่จะรู้ว่านี่เป็นเพียงการย่อตัวธรรมดาๆ ที่มันจะเด้งขึ้น เมื่อชนกับเส้นค่าเฉลี่ย หรือว่ามันจะเป็นการเอามือไปรับมีดกันแน่..? ในทางกลับกัน หรือตลาดกำลังวิ่งขึ้นต่อ…? การรู้ถึงความแตกต่างของมันนั้นเป็นทักษะที่ยากยิ่งจะได้มันมาครับ แต่เราจะพูดถึงเรื่องนี้ในคราวหลังครับ และเราจะพูดถึงการ “ตัดขาดทุน” ในคราวหลังเช่นกันครับ เนื่องจากในตอนนี้ เรากำลังพูดกันถึงการมีกฎที่แน่นอนในการซื้อขายครับ สุดท้ายนี้.. เออๆ.. ไม่ใช่ครับ.. “การเทรดเป็นชุดๆหรือ Sample Size” ก็เพื่อวัดผลอย่างเป็นระบบว่าอะไรใช้ได้-ไม่ได้ โดยวิธีการก็คือ การแบ่งเงินทุนออกเป็นส่วนๆ เราจะไม่วางเงินทั้งหมดลงไปในคราวเดียวกัน และเราจะไม่วางเงินลงไปในการซื้อหุ้นแค่สองตัวครับ คุณควรจะกระจายเงินของคุณลงไปในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน และทำให้แน่ใจว่า มันถูกกระจายไปอย่างดี เผื่อไว้ในกรณีที่หุ้นบางตัวร่วงลงไป เงินทั้งหมดของคุณจะไม่หายไปครับ โดยคอร์สของผมนั้น จะสอนเรื่องนี้เอาไว้ครับ “การทดสอบ” นั้น จะทำควบคู่กับสิ่งที่ผ่านมานั่นคือการซื้อขายเป็น “ชุดๆ” ของคุณ คุณต้องตัดสินใจว่า คุณจะวัดผลของระบบโดยใช้จำนวนการซื้อขายกี่ครั้ง เพราะหลังจากที่คุณ ตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สัญญาณใด ในการเข้าซื้อขายของคุณ คุณควรจะต้องทำการทดสอบมันว่ามันมีประสิทธิภาพแค่ไหนด้วยครับ นักเก็งกำไรทั่วๆไปนั้น มักเอาชีวิตไปแขวนไว้กับผลการซื้อขายครั้งที่พึ่งจะผ่านๆมา หากมันทำกำไรได้ เขาจะกลับไปใช้มันแต่หากมันไม่มีกำไร เขาก็จะเลิกใช้มัน ดังนั้น คุณควรจะทดสอบระบบของคุณโดยการลองซื้อขาย ในกระดานก่อนครับ เพื่อที่คุณจะสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าอะไรคือเหตุผล ในการซื้อขายของคุณจนคุณสามารถพูดได้ว่า “นี่คือกฎของผม” หรือคุณพูดได้ว่า “ผมไม่ได้ทำผิด แต่ระบบผมผิด” “และผมต้องทดสอบบางอย่างเพื่อเปลี่ยนมัน” “เนื่องจากตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว” จำไว้อีกครั้งว่า ตลาดไม่ได้วิ่งป็นเส้นตรง มันจะขึ้นๆลงๆไปเรื่อยๆ
เช่น สองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นตลาดมีความผันผวนอย่างมาก และนักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะพวกเล่นตามแนวโน้มหรือระยะยาวจะทำไม่ได้ดีนัก เนื่องจากตลาดผันผวนมากเกินไปนั่นเอง “การยอมรับความเสี่ยง” อย่าเปลี่ยนระดับความเสี่ยงหรือตัดขาดทุนในระหว่างการถือหุ้น เพื่อความสบายใจ การรู้ถึงความเสี่ยง กับการยอมรับความเสี่ยงนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญของมันก็คือ..การเข้าถึง “ขนาดการลงทุน” ของคุณ แล้วลองทดสอบมัน หลังจากนั้นจึงตัดสินใจว่าคุณจะยอมเสี่ยงแค่ไหน ก่อนที่คุณจะขายมันทิ้งออกไปซึ่งเราพูดไปแว้วในเรื่อง “การตัดขาดทุน” “วิธีการฝึก” กฎของคุณควรจะง่ายต่อการปฏิบัติ จุดประสงค์ของการฝึกฝนนี้ก็เพื่อช่วยให้คุณกลายเป็น “ระบบ” “ทำตามระบบ และระบบจะฝึกฝนคุณเอง” ดังนั้นจงซื้อขาย ตามระบบของคุณอย่างที่คุณได้ออกมันไว้ พยายามทำตามระบบ อย่างน้อย 20 ครั้งตามกฎของคุณ ไม่ใช่แค่ซื้อขายครั้งต่อไปแต่อีก 20 ครั้งต่อไปครับ ห้ามระเมิดกฏโดยเด็ดขาด! จงทำตามระบบของคุณซะ หลังจากที่คุณทำมันได้แล้ว คุณจะเริ่มมีการพัฒนาขึ้น คุณจะเริ่มตระหนักว่า... ข้อ 1 มันจะใช้ไม่ได้ ถ้าคุณไม่ทำตามระบบครับ ข้อ 2 คุณจะเหมือนอยู่ในสวรรค์ที่คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างที่ต้องการ และคุณสามารถมองเห็นตลาดเป็นโอกาสในการทำกำไรได้ตลอดเวลา โดยไม่รู้สึกว่าระบบหรือตลาดนั้นจะคอยเล่นงานคุณอยู่เสมอ
เราจะพูดถึงเรื่อง “การวางแผนการซื้อขาย” โดยจะเจาะลึกถึงส่วนของ “ตัวตน” ของคุณ รวมไปถึงการหาสัญญาณการซื้อขายการวิเคราะห์ทางเทคนิค และแผนการซื้อขาย แต่เราจะพูดกันหลังจากที่เราได้ผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้ว นี่คือขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาความเชื่อในทัศนคติที่ถูกต้องของคุณ และนี่คือสิ่งที่ Marc Douglas ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ “The Trading in The Zone” ครับ ตอนต่อไป จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 3
ขอบคุณเนื้อหาจาก Youtube จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2
Subscribe to Me Life Success
Get the latest posts delivered right to your inbox