TradingMind

Trading Psychology Part 1.

จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 1

Trading Psychology Part 1.

เราได้เริ่มคอร์ส”30 Challenges” โดยการรู้จักกับวิธีต่างๆในการวิเคราะห์หุ้น เช่น การวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค คุณเคยสงสัยไหมว่า... วิธีการเหล่านี้ได้ผลจริงๆหรือ? คำถามก็คือ...ถ้าเป็นอย่างนั้นทำไมนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่จึงยังขาดทุนอยู่? เราได้เรียนรู้ไปแล้วว่า การวิเคราะห์พื้นฐานเป็นที่ยอมรับขึ้นมาก่อน ซึ่งอาศัยการวิเคราะห์จากตัวแปรต่างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อฐานนะการเงินของบริษัท เราวิเคราะห์ถึงความต้องการสินค้าและปัจจัยทางเศรษกิจต่างๆ แล้วจึงทำการคาดคะเนว่าอะไรน่าจะเกิดขึ้น แต่มันไม่ได้นำเอาพฤติกรรมของนักลงทุนมาวิเคราะห์รวมเข้าไปด้วย ต่อมาจึงเริ่มมีการหันมาใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคขึ้น เชื่อหรือไม่ว่า… ในยุคแรกๆ ที่มันถูกนำมาใช้ในปี 70 นั้น มันถูกด่าว่าเป็น “ปาหี่” ด้วยซ้ำครับ หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นเชื่อว่า นักเก็งกำไรคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งต่างๆ ในทุกๆตลาดและในทุกๆช่วงเวลา และนักเก็งกำไรเหล่านี้ มักจะทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา พูดอีกอย่างก็คือ… มันกลายเป็นรูปแบบพฤติกรรมมวลชนขึ้นมา โดยรูปแบบพฤติกรรมเหล่านี้สามารถที่จะสังเกตุเห็นได้ และมันมักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ จนเกิดเป็นสถิติที่น่าเชื่อถือขึ้นมา การวิเคราะห์ทางเทคนิคในความคิดส่วนตัวผมนั้น มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าการวิเคราะห์ทางพื้นฐานอยู่อย่างมาก มันคือการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากอดีต โดยไม่เกี่ยวข้องกับว่าอนาคตจะต้องเป็นอย่างไร หากพูดกันตามตรงเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น มันไม่ใช่สูตรสำเร็จในการช่วยให้คุณสามารถที่จะมีกำไร ได้อย่างสม่ำเสมอครับ มันไม่ใช่แค่คุณเล่นตาม Indicator ต่างๆ หรือมองหารุปแบบต่างๆในกราฟ แล้วจึงจะมีกำไรสม่ำเสมอครับ ถึงแม้จะมีเครื่องมือวิเคราะห์ที่ดีแค่ไหน แต่นักเก็งกำไรส่วนใหญ่ก็ยังขาดทุนอยู่ดีครับ คุณเคยรุ้สึกบ้างไหมว่า กำแพงขวางกั้น ระหว่างการวิเคราะห์ของคุณกับสิ่งที่คุณจะกล้าทำลงไป หรือซื้อ-ขาย ตามสิ่งที่คุณคิดอยู่จริงๆ Mark Douglas ผู้เขียนหนังสือ “Trading In The Zone” เรียกมันว่า “ช่องว่างทางจิตวิทยา และช่องว่างนี้เอง! ที่ทำให้การเก็งกำไรเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง และต้องใช้ความพยายามอย่างมากมาย การที่เราสามารถเห็นโอกาสบางอย่างขึ้นมาและทำในสิ่งต่างๆที่เราคิดนั้น ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ง่าย แต่นี่เป็นสิ่งที่แยกนักเก็งกำไรที่ล้มเหลวออกจากนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่แยกนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จออกจากนักเก็งกำไรทั่วๆไปนั้น ไม่ใช่เครื่องมือทางเทคนิคชิ้นใหม่ล่าสุด หรือความสามารถในการวิเคราะห์ที่ละเอียดกว่าเดิม แต่นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จนั้น ได้เรียนรู้ที่จะคิด... และสร้างทัศนคติ ในทางที่แตกต่างออกไป ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว พวกเราส่วนมากมักจะหาทางที่จะเรียนรู้วิธีการหาสัญญาณซื้อ-ขายที่ดีขึ้น แต่การพยายามเรียนรู้วิธีการซื้อขายใหม่ๆ ไม่ได้แปลว่าคุณได้เรียนรู้ที่จะคิดอย่าง “นักเก็งกำไร” ข้อแตกต่างระหว่างนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก... ออกจากคนทั่วไปก็คือ พวกเขาได้เข้าถึงความเชื่อบางอย่าง ซึ่งเป็นทัศนะคติที่แตกต่างออกไป ซึ่งช่วยให้พวกเขา สามารถรักษาวินัยและสมาธิเอาไว้ได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ ความเชื่อมั่นในตนเอง... แม้ในช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุดครับ นักเก็งกำไรชั้นยอดนั้น ต้องสมารถซื้อ-ขายได้โดยไร้ความลังเลใจ แม้ในช่วงเวลาที่ขาดทุน พวกเขาทำสิ่งต่างๆได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยยอมรับถึงการขาดทุนที่เกิดขึ้นครับ ในวิดีโอคลิปที่ผมเคยนำมาให้ดู ตอน “คลาดหุ้นทำไมถึงเกลียดผม?” ผมได้พูดถึงว่าการเก็งกำไรได้ดีนั้น... คือการที่คุณสามารถเข้าซื้อ-ขายได้ตามกฎหรือระบบของคุณ ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่า... คุณจะได้กำไรหรือขาดทุนและนี่คือสิ่งที่นักเก็งกำไรชั้นยอดทำครับ Mark Douglas ได้พูดเอาไว้ว่า นักเก็งกำไรที่ดี ต้องสามารถตัดขาดทุนได้โดยไร้ความลังเลใจ โดยไม่เกิดความรู้สึกไม่สบายใจขึ้น แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม นี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างนักเก็งกำไรชั้นเยี่ยมและนักเก็งกำไรทั่วๆไป ซึ่งมันคือความสามารถในการที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า เช่น.. หากว่าคุณขายมันทิ้งไปแล้วหรือวันนี้จบลงแล้ว... คุณต้องก้าวต่อไป คุณต้องเตรียมตัวสำหรับวันใหม่ และสำหรับโอกาสใหม่ๆ และหากว่าคุณยังถูกตรอบงำจากการเก็งกำไรครั้งที่ผ่านมา ซึ่งคุณขาดทุนมาละก็ คุณจะถูกครอบงำโดยอารมณ์และคุณจะไม่สามารถตั้งสมาธิไปยังโอกาสครั้งใหม่ได้ครับ เหตุผลหนึ่งซึ่งนักเก็งกำไรส่วนใหญ่มักจะถือหุ้นที่ขาดทุนก็เพราะ… พวกเขายังคงติดอยู่กับความรู้สึกที่เจ็บปวดจากการตัดขาดทุนที่เกิดขึ้น นั่นเพราะพวกเขาไม่ยอมรับถึงความเสี่ยงจากการลงทุนได้นั่นเอง คุณควรรู้สึกอย่างซาบซึ้งว่า... เมื่อคุณเข้าซื้อหุ้น คุณอาจคิดผิดก็ได้! และมันยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆไป และเมื่อคุณสามารถยอมรับความจริงที่ว่า... คุณไม่สามารถวิเคราะห์ ได้ถูกต้องทุกครั้งหรือกราฟอาจไม่เป็นจริงก็ได้ การเก็งกำไรของคุณจึงอาจผิดพลาดได้ แต่หากคุณไม่สามารถยอมรับความจริงว่ามันอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิดก็ได้ เมื่อไหร่ที่มันวิ่งสวนทางกับคุณหรือคุณได้วิเคราะห์ผิดไป โดยคุณยังไม่สามารยอมรับความเสี่ยงและความผิดพลาดได้ละก็ คุณก็จะถือขาดทุนอยู่ต่อไป และนี่จะทำให้คุณเริ่มตาบอดจนมองไม่เห็นสิ่งต่างๆเลย ดังนั้นคุณควรขายมันทิ้งไปซะ ขายมันทิ้งไป! และคุณควรเตรียมตัวสำหรับการเก็งกำไรครั้งต่อไปครับ Mark Douglas ยังได้พูดเอาไว้อีกว่า…

กว่า 95% ของความผิดผลาดต่างๆที่เกิดขึ้นในการเก็งกำไรนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เงินของคุณหายไปกับตา เกิดจากทัศนคติของคุณของ นั่นคือ...ความกลัวที่จะผิดพลาด ความกลัวที่จะขาดทุน กลัวที่จะพลาดโอกาส และความกลัวที่กำไรจะหายไปนั่นเอง

เขาเรียกมันว่า “ความกลัวในการเก็งกำไร 4 ประเภท” นั่นคือ

  1. ความกลัวที่จะผิดพลาด
  2. ความกลัวที่จะขาดทุน
  3. ความกลัวที่จะพลาดโอกาส
  4. ความกลัวที่กำไรจะหายไป

ตราบใดที่คุณยังหวั่นไหวจากความกลัวเหล่านี้ ซึ่งเป็นผลมาจากอารมณ์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นความลังเลใจ ความงมงาย หรือแม้แต่ความบ้าบิ่นต่างๆ คุณจะไม่สามารถเชื่อมั่นตนเองได้ และหากคุณไม่สามารถที่จะเชื่อมั่นในตนเอง หรือแม้กระทั่งทำในสิ่งที่คุณคิดได้ละก็ความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอ ในการเก็งกำไรจะไม่มีวันเป็นไปได้สำหรับคุณครับ ตอนต่อไป จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 2

ขอบคุณเนื้อหาจาก Youtube จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 1

Subscribe to Me Life Success

Get the latest posts delivered right to your inbox